ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแต่ละปีประเทศมียอดรวมการผลิตและประกอบรถยนต์เพื่อใช้ทั้งภายประเทศและเพื่อส่งออกต่างประเทศกว่าหลายล้านคัน บ่งบอกถึงความสำคัญของการฐานผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ประวัติศาสตร์รถยนต์ในประเทศไทย
ยังไม่ปรากฏแน่ชัดในประวัติศาสตร์นักว่ามีรถยนต์คันแรกเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อใด แต่เป็นที่ทราบกันว่าการสั่งรถยนต์ครั้งแรกเข้าสู่ประเทศไทยทำโดยชาวต่างชาติ ก่อนที่จะนำมาขายต่อให้กับคนไทยคือ จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (นายเจิม แสงชูโต) ซึ่งได้บรรยายลักษณะของรถคันแรกในลายพระหัตถ์ไว้ว่า “รถคันแรกในเมืองไทย รูปร่างคล้ายรถบดถนน ล้อยางตัน หลังคาเป็นปะรำ มีที่นั่งสองแถว ใช้น้ำมันปิโตรเลียมไฟหน้าลักษณะคล้ายเตาฟู่” จนต่อมาในปี พ.ศ. 2448 รถยนต์เริ่มเป็นที่รู้จักและมีความนิยมมากขึ้นในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ มีการมอบเป็นของขวัญพระราชทาน และตั้งชื่อให้กับรถยนต์แต่ละคัน ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นของหายากและมีราคาแพง จำกัดอยู่ในแวดวงชนชั้นสูงและผู้มีฐานะเท่านั้น
ในเวลาต่อมา การค้ากับต่างประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายกับไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างทางภาษีที่เอื้ออำนวยต่อการค้าขายสินค้ากับต่างประเทศ จนประเทศพัฒนามาถึงยุคอุตสาหกรรม
โดยฉพาะในสมัยจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ มีการพัฒนาแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นฉบับแรกเพื่อส่งเสริมการลงทุนและอุตสาหกรรมในประเทศ ทำให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากขึ้น จนประเทศไทยมีการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจของภูมิภาค และรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน